top of page
Search

Goal Setting for Micro-credentials

  • Writer: Klangjai
    Klangjai
  • Jun 7, 2024
  • 2 min read

ถ้าหลายๆท่านเคยผ่านกระบวนการในการออกแบบการเรียนรู้มาบ้าง น่าจะทราบดีถึงความสำคัญของการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่าสำคัญอย่างไรกับคุณภาพของการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบการเรียนรู้ในระดับหลักสูตร ระดับวิชา หรือกับการจัดการเรียนรู้ใน scale ที่เล็กแค่ไหน เป้าหมายของการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องคิดไว้ให้ชัดเจนก่อนเสมอ


สำหรับการออกแบบ Micro-credential การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนจะมีความสำคัญเป็นพิเศษเลย เพราะว่าเรากำลังออกแบบการรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจง (specific competency) ถ้าเราบอกไม่ได้ว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้ชัดๆเราคงจะไปรับรองมันไม่ได้ และเพราะ Micro-credentials ไม่ใช่เรื่องของการรับรองความสามารถอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของการพัฒนาความสามารถที่เฉพาะเจาะจงนั้นด้วย การที่ไม่มีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่ชัดเจนทำให้ยากมากที่จะช่วยผู้เรียนให้ไปถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้

ในหนังสือของ Julie Dirksen, Design for How People Learn [1], การสร้างเป้าหมายการเรียนรู้เริ่มต้นด้วยคำถามว่า What kind of problem you are trying to solve? อ่านแล้วชอบมากเลยคิดว่าวันนี้จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ :)




Why? — ทำไม?


Julie เล่าว่าก่อนจะออกแบบการเรียนรู้ที่มีความหมายกับผู้เรียนเราต้องตอบถำถามว่าทำไม (Why) เราต้องทำให้ผู้เรียนทำสิ่งนั้นได้ ถ้าเราเปรียบเทียบการเรียนรู้เหมือนการพาผู้เรียนเดินจากจุด A ไปยัง จุด B สิ่งที่ผู้เรียนจะทำได้หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เราเป็นคนออกแบบก็คือจุด B หรือ Destination เช่น ก่อนที่เราจะพาผู้เรียนที่สามารถต่อสู้ได้ในระดับสายเหลือง(จุด A) ไปจนถึงสายสีน้ำเงิน( จุด B) เราควรจะทราบก่อนว่าทำไมผู้เรียนถึงอยากทำได้ในระดับนั้น เค้าอาจจะอยากทำได้เพื่อไปต่อให้ถึงสายดำ (แปลว่าเค้ามี Destination C ในใจ) อาจจะอยากมีทักษะการป้องกันตัวไว้ปกป้องตัวเองหรือคนรอบข้าง ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับการตั้งเป้าหมายและออกแบบการเรียนรู้ สมมุติว่าผู้เรียนมีความคาดหวังที่จะเอาทักษะที่ได้จากการเรียนศิลปะการป้องกันตัวไปต่อสู้กับคู่ต่อสู้สักคน เราต้องทราบว่าผู้เรียนต้องทำได้ในระดับใดถึงจะมีโอกาสชนะ ถ้าเราทราบว่าคู่ต่อสู้ของผู้เรียนทำได้ถึงสายน้ำเงิน การกำหนด Destination B เป็นสายเขียวคงไม่เหมาะสมพอที่จะแก้ปัญหาให้ผู้เรียนได้ จะเห็นได้ว่าการกำหนดเป้าหมายที่ดีมาจากความเข้าใจว่าทำไมเราต้องไปที่นั้น





ทำอะไรได้ (ด้วยวิธีอะไร)


การเริ่มต้นการออกแบบด้วยคำถาม Why มีประโยชน์จากหลายมุมมอง เช่น ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาตั้งต้นของผู้เรียนหรือว่าองค์กรว่าต้องการอะไร ก่อนที่จะเราออกแบบการเรียนรู้ที่จะเป็น solution ของปัญหานั้น เพราะคงไม่ดีแน่ที่เราจะออกแบบ solution แล้วค่อยมาคิดปัญหาให้มันทีหลัง! อีกมุมนึงคือทำให้มันง่ายขึ้นที่จะโน้วน้าวให้ผู้เรียนเกิดแรงบรรดาลใจที่จะไปที่ Destination B เพราะว่าเค้าทราบดีว่าถ้าถึงแล้วมันจะเกิดประโยชน์และมี impact กับชีวิตเค้าจริงๆ

สมมุติว่าเรารู้ละว่าเราจะพาผู้เรียนไปที่ Destination B เพื่ออะไร การที่เราจะระบุว่าจุด B อยู่ที่ไหนได้จริงจะต้องมององค์ประกอบหลายอย่างเลย เพราะการบอกว่าเค้าจะทำอะไรได้ในแบบที่เฉพาะเจาะจง เราต้องบอกได้ว่าเค้าจะทำได้เมื่อไหร่และทำได้ในระดับอะไรด้วย


การวาง Destination ของ Micro-credential จะเป็นการวางเป้าหมายที่ “แคบ” ซึ่งจะเป็นการทำได้ด้วยวิธีการ (Key Method) ที่เฉพาะเจาะจง เช่น สมมุติว่า skill การทำไข่เจียวเป็น skill ที่มีคุณค่ากับผู้เรียนอย่างมาก การทำไข่เจียวเป็นด้วยการทอดในกระทะ กับการทำไข่เจียวเป็นด้วยการอบในเตาไมโครเวฟ จะมี Destinations ที่แตกต่างกัน ถือว่าเป็นคนละ Micro-credential กัน

ต้องแคบแค่ไหน? แคบพอที่เราจะใช้ Rubric ในการวัด competency เพื่อให้ผู้ประเมิน (Assessors) ที่หลากหลายสามารถประเมิน competency นั้นได้โดยผลประเมินเป็นไปในทางเดียวกัน และไม่แคบหรือเล็กเกินไปจนไม่เกิดประโยชน์กับชีวิตของผู้เรียน (value) อย่างชัดเจน ไปดูตัวอย่างหัวข้อ Micro-credentils ที่เฉพาะเจาะจงกันได้ที่ Digital Promise


ทำได้เมื่อไหร่ (ไกลแค่ไหน)


ถึงแม้ว่าจะรู้ว่า Destimation B นั้นอยู่ตรงไหน ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะทราบว่าผู้เรียนจะไปถึงเมื่อไหร่ถ้าเราไม่รู้จักว่าอะไรคือ Gaps ของผู้เรียนที่ทำให้เค้ายังไปไม่ถึง นอกจากความรู้ความสามารถและทักษะตั้งต้นที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุลคนแล้ว Gaps ของผู้เรียนแต่ละคนยังเกิดจากการมีความเร็วในการเดินทางที่แตกต่าง ลองคิดดูว่าถ้าเราไม่ทราบเลยว่าจะต้อง พา“ใคร”ไปให้ถึงจุด B เราคงออกแบบการเดินทางและวิธีการช่วยเค้าไม่ถูก ข้อดีของการออกแบบการเรียนรู้ในแบบ Credentialing Learning (ซึ่งเป็นส่วนการพัฒนาความสามารถที่เฉพาะเจาะจง) ก็คือว่า เราไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนบังคับให้ผู้เรียนไปถึงในเวลาที่เรากำหนด แต่เราต้องทราบคร่าวๆว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเพื่อจะเดินทางไปสู่ Destinaton นั้น


อีกส่วนนึงที่ช่วยทำให้เราเข้าใจว่า ‘เค้าจะทำได้เมื่อไหร่’ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ specifc competency ที่เรากำลังจะออกแบบด้วยค่ะ เพราะว่านอกจากผู้เรียนจะมีความแตกต่างหลากหลายแล้ว เจ้าตัว competency ในแต่ละตัวแต่ละแบบก็มีธรรมชาติในการพัฒนาที่ต่างกันด้วย บางตัวพัฒนาได้ช้ามาก(slow skills) และอาจใช้เวลาเป็นปีๆ บางตัวอาจจะพัฒนาได้ในเวลาไม่กี่วัน ตัวอย่างของพวกที่ใช้เวลานานๆในการพัฒนาก็เป็นพวกทักษะทางด้านภาษา เช่น การฝึกพูดภาษาจีน การพัฒนานิสัยอะไรบางอย่าง ส่วนพวกที่พัฒนาได้เร็ว(fast skills) ก็เป็นพวกการฝึกใช้ applications หรือเรียนรู้และฝึกฝนในสิ่งที่เค้าเคยมีความรู้มาก่อน ถ้าเราเปรียบเทียบธรรมชาติความช้าเร็วในการพัฒนา skill เหมือนกับโครงสร้างของบ้าน จะเห็นได้ว่าอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ยากเช่น ฐานรากหรือโครงสร้างของตัวตึกก็จะเหมือนกับพวก slow skills ส่วน fast skills ก็จะเปรียบได้กับอะไรที่เปลี่ยนได้บ่อยๆ เช่น หมอนอิงหรือเฟอร์นิเจอร์ในห้อง

การที่เราทราบธรรมชาติความเร็วช้าของการพัฒนา competency ในแต่ละแบบจะช่วยให้เราออกแบบการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสมเพราะเราเข้าใจการไปถึง destination ได้ดีมากขึ้นว่าการไปถึง destination แต่ละชนิดจะใช้เวลาเร็วช้าต่างกัน


ทำได้อย่างไร (ยากแค่ไหน)


การทำได้ในรูปแบบของ KMUTT Micro-credential เป็นการบอกว่าคนคนนึงทำอะไรที่เฉพาะเจาะจงได้ในระดับ ‘proficiency’ หมายความว่าเรากำลังรับรองว่าเค้า “ทำเป็น” ซึ่งเวลาเราพูดถึงการทำเป็น เรากำลังหมายถึงการทำได้บ่อยๆ ทำได้ในหลายสถานการณ์และเป็นการทำได้อย่างชัดเจน (with strong results) ถ้าเรามองการทำได้ทำเป็นในระดับ Micro-credential จากสองมุมมองคือ sophistication กับ proficiency เราจะเห็นความสัมพันธ์ของเป้าหมายทั้งสองส่วนตามรูปด้านล่างนี้เลยคะ จะเห็นว่าเราจะออกแบบการเรียนรู้โดยเริ่มจากจุดไหนก็ได้แต่ถ้าอยากจะพัฒนาให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความสามารถจนได้รับ Micro-credential เราควรตั้งเป้าหมายไว้อย่างน้อย (5,3) คือเป็นจุดที่ผู้เรียนจะแสดงออกให้เราเห็นถึงความสามารถที่เฉพาะเจาะจงผ่านการทำให้ดู(apply)ในระดับทำเป็น(proficiency)



Adapted from Dirksen, Julie. Design for How People Learn (Voices That Matter) (p. 69)



อย่างไรก็ตามผู้เรียนอาจจะไม่จำเป็นหรือต้องการการเรียนรู้ที่เราเป็นคนออกแบบให้เพราะเค้าอาจจะทำได้และทำเป็นจากประสบการณ์ในงานที่ทำอยู่ หรืออาจมาเลือกเรียนและร่วมเดินทางในส่วนที่เค้าต้องการเท่านั้น การออกแบบการเรียนรู้จึงควรคำนึงถึงการแบ่งเส้นทางการเดินทางทั้งหมดให้ออกมาเป็นส่วนที่เหมาะสมกับการเข้ามาเรียนรู้โดยผู้เรียนทีหลากหลาย โดยแต่ละส่วนควรจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะทางที่เป็นไปได้กับผู้เรียนส่วนมากที่จะมาร่วมเดินทางไปกับเรา ถ้าเราสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่มี structure ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ การเดินทางสู่ Destination B ของพวกเค้าก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นทางที่เราเลือกให้เค้าเดินเสมอไป



References:

[1] Dirksen, Julie. Design for How People Learn (Voices That Matter). Pearson Education. Kindle Edition.

 
 
 

Comentários


bottom of page