top of page
Search

เริ่มเขียน learning outcome กันเหอะ

  • Writer: Klangjai
    Klangjai
  • May 13, 2019
  • 3 min read

Updated: May 5, 2020


For the past 7 years of my personal learning on Outcome based Education (OBE), I have encountered endless requests about 'how do we start writing a meaningful, realistic and feasible learning outcomes. In this post, it's going to be my first attempt to tackle this issues once and for all - here are my 2 cents....


จากการไปจัด workshops และไปเป็นวิทยากรในเรื่อง OBE ในหลายปีที่ผ่านมา มีเพื่อนๆอาจารย์ถามคำถามเรื่องการเขียนผลการเรียนรู้เข้ามาเยอะมากกกก คำถามส่วนมากจะเป็นคำถามที่มาจากผู้ที่เริ่มต้นเขียน ถ้าเริ่มเขียนเป็นแล้วก็จะถามว่าแล้วเขียนยังไงให้วัดได้ Post นี้เป็นความพยายามแรกของต้องในการลองเล่าเรื่องการเขียนผลการเรียนรู้


Learning outcomes

If you think about learning as a process, it's quite easy to imagine a diagram with input->a box->output.... however, a few our us define the 'input', 'the box', and 'output' rather differently. For now, let's focus on this question: what is the output of learning? a simple answer would be that when someone actually 'learns'. But how do you know if someone is actually learning something? To know that we need to be able to 'see' the evidence of someone's learning, and that's a learning outcome.


So, what kind of evidence we can 'see' when someone has learnt something? We can only see what "they do". This means that the learners need to show us what they can do as a result of their learning, without that we can't really measure if learning has actually taken place.


ถ้าหลายๆคนลองจินตนาการว่าการเรียนรู้เป็นกล่องๆหนึ่ง แล้วลองวาดรูป input กับ output ใส่เข้าไป ลองมาคิดกันเล่นๆว่าอะไรเป็น output ที่เราจะได้ออกมา ถ้าเราเรียก output นั้นว่า ผลการเรียนรู้ หรือ learning outcomes เราคงเดาได้ว่า output มันก็น่าจะเป็นการที่ผู้เรียนได้ "เรียนรู้" ซึ่งคำว่าเรียนรู้เนี่ยดูเหมือนจะง่ายๆแต่จริงๆแล้วมันลึกซึ้งคะท่านผุ้ชม:) ทำไมถึงบอกว่าลึกซึ้ง? ก็เพราะว่าถ้าไปลองสังเกตุกันดูในหมู่ผู้เรียนหลังจากเค้าเรียนกัน 'เสร็จแล้ว' เราไม่สามารถตอบได้ว่าคนไหนเรียนรู้รึว่าไม่เรียนรู้ ถ้าเราไม่เห็นเค้า "แสดงพฤติกรรมที่เป็นการพิสูจน์ว่าผู้เรียนสามารถทำอะไรได้ที่ไม่เคยทำได้มาก่อน" ซึ่งฤติกรรมหรือการแสดงออกเหล่านี้นี่แหละคือผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้และเราสามารถเอามาเขียนเป็นผลการเรียนรู้เพื่อการออกแบบการศึกษาที่จะวัดความสำเร็จได้ตรงๆ


What can they do?

This is a good starting question for writing your learning outcome. No one would know the answer better than you do. You need to ask yourself, what will your learners be able to do at the end of .......

- a session today

- the semester after they have completed your class

- your program


I have come up with 3 little sections about writing learning outcomes; asking yourself, using verbs, and checklist. The information provided can be used together or separately as you see appropriate to help you come up with the learning outcome you are after.


ผู้เรียนจะทำอะไรได้?

นี่เป็นคำถามตั้งต้นสำหรับการเขียน learning outcome เลย ไม่มีใครจะตอบได้นอกจากเราผู้เป็นคนออกแบบการเรียนรู้นั่นๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนจบในหนึ่งคาบ หรือจากการเรียนมาในวิชาหนึ่งตลอดเทอม หรือเกิดการการเรียนที่ยาวนานในระดับหลักสูตร


จากความพยายามในการทำให้ผู้ออกแบบการสอนเข้าใจการเรียนผลการเรียนรู้ ต้องได้ลองเขียนขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ช่วยสร้างหลักการในการเขียนหลักๆมา 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนอาจจะนำมาใช้รวมกันหรือแยกกันตามระดับความเข้าใจและการนำไปใช้ของท่านผู้อ่านแต่ละท่านนะคะ


1 - Ask yourself 'Why'

For the sake to simplicity, let's say we are aiming to write a learning outcome of a session. Here are your guiding questions might help you...


1- why your learners need this session? Is this session part of a subject? Is there a related learning outcome you need to align your session's learning outcome with? what are the objective of your session? what do you want to achieve? at what level?

2- What your learners can't do now and will be able to do later after they have successfully completed your session? what they have to do to demonstrate to you that they 'understand' or able to 'use' the information provided or skill being trained?

3- Is there a single evidence of learning or many evidences of learning required to prove that they actually learnt something new at the end of your session?

4- can the evidence of learning be 'seen' or 'observed' from an external context? is it easy to see if they can or can't do?


การตั้งคำถามกับตัวเองเป็นวิธีที่ต้องคิดว่าง่ายที่สุดในการเขียนผลการเรียนรู้ที่มีความหมาย เพราะว่าเราสามารถทำได้เองไม่ต้องไปชวนใคร :) ลองอ่านข้อคำถามเหล่านี้แล้วลองตอบดูด้วยตัวเองเพื่อหาวัตถุประสงค์ชัดๆของการเรียนรู้และสิ่งที่เราอยากให้ "เค้าทำได้" รวมถึงพยายามตอบคำถามว่าทำไมสิ่งเหล่านั้นถึงสำคัญ ลองถามไปตอบไปก็จะได้ ideas ในการเขียนมาไม่มากก็น้อยแน่นอนคะ


2 - The verb

Action or Active verbs we use to write a learning outcome deserve a session of their own! Some educators I know are very serious about the verbs. Don't worry, I'm not. By starting your learning outcomes with a verb, you are getting yourself closer to explore the actions you learners can do to demonstrate the evidence of learning. Good news is you don't need to come up with your own verbs and there are many researchers have done tremendous guidelines on verb selection. I have put an example below.


Note: I also provide a Thai version of the cognitive domain just in case you are writing your learning outcomes in Thai :)


พูดถึงการเขียนผลการเรียนรู้คงจะเลี่ยงไม่ได้กับการคิดถึงคำกริยาที่เราจะเอามาใช้แสดงพฤติกรรมหลักของผู้เรียน การใช้ verbs เหล่านี้เป็นเรื่องที่น่างงงวยกันมากสำหรับบางท่าน ก็จะเกิดคำถามประมาณว่าใช้ตัวไหนถึงดี ใช้ตัวนี้แล้วถูกรึยัง ตัวนี้จะวัดยังไง ตัวนี้อยู่ในขั้นนี้จริงมั้ย วันนี้ต้องเอาตารางง่ายๆของ Bloom มาให้ท่านผู้อ่านได้ลองศึกษาคำกริยาเหล่านี้ดู ใน Boom's taxonomy เนี่ยเค้าจะแบ่ง verbs ที่แสดงถึงการเรียนรู้ในแต่ละ Domain แต่ละขั้นเอาไว้ ก็ดูไว้เป็นแนวทางเวลาเริ่มเขียนแล้วก็ค่อยๆปรับกันไปนะคะ มี Version ภาษาไทยสำหรับ Cognitive Domain ด้วยคะ :)


2 - Checking your learning outcomes


Once you know what to write and how to write a learning outcome. You can use the following checklist to doublecheck if you are writing a good one.

1- Think of learning outcomes in terms of 3 important elements: active/action Verbs + Object + Qualifying Phrase. Make sure that you at least put in the verb and the object

2- Use a smart guideline to validate it. I have provided a simple checklist and some example below - Enjoy writing :)


ถ้าท่านผู้อ่านได้ลองเขียนผลการเรียนรู้กันมาบ้างแล้วเราจะเริ่มสังเกตุได้ว่ารูปประโยคผลการเรียนรู้จะประกอบด้วย Action Verb + Object + Qualifying Phrase ซึ่งก็คือตัวคำกริยาและการกระทำที่แสดงผลการเรียนรู้รวมไปถึงประโยคขยายเพื่อบอกว่าผู้เรียนต้องทำได้ดีถึงขั้นไหน (how well) ประโยคผลการเรียนรู้ควรจะมีคำกริยากับกรรมเป็นอย่างน้อยนะคะ


หลังจากลองตรวจสอบรูปประโยคแล้วอีกสิ่งที่เราทำได้คือใช้ SMART checklist เพื่อทวนสอนบความตั้งใจของเราในการเขียนผลการเรียนรู้ checklist นี้ก็จะ check เรื่อง Speak to learner ซึ่งคือเป็นการเขียนในมุมของผู้เรียนว่าเค้าทำอะไรได้ ไม่ใช่เราทำได้ Measurable เป็นการทวนว่าเราจะวัดได้จริง Applicable ดูว่าเหมาะสมกับ context ที่เราจะวัดรึเปล่า รวมๆแล้วก็จะช่วยให้เราได้ผลการเรียนรู้ที่มีความหมายและวัดได้จริงๆ


ไปลองเขียนลองใช้เครื่องมือพวกนี้กันดูนะคะ เราจะได้สร้าง learning experience ที่ purposful and meaningful กันคะ :)



Comments


bottom of page