ฮอร์โมน กับ Safe Zone for Teamwork
- Klangjai
- Jun 8, 2024
- 2 min read
KJ’s leadership series #2
พี่เป็นคนชอบทำอะไรคนเดียว…ตอนพี่เป็นเด็กๆเวลาเราทำงานกลุ่มที่โรงเรียนทีไร พี่รู้สึกเลยว่า “นี่มันคือความเสี่ยง” เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเราจะไปเจอเพื่อนในกลุ่มเป็นใคร เค้าเป็นคนแบบไหน จะมีความสามารถเท่าไหร่ ที่สำคัญพวกเขาจะยอมเข้ามาช่วยกันทำงานไหม พอโตขึ้นมาอีกนิดนึงได้เริ่มทำงานในบริษัทก็ทำให้รู้ว่า โอ… เราต้องทำงานเป็นทีม For real จริงๆเหรอเนี่ยในสมองเห็นความเสี่ยงเต็มไปหมด มีตัวแปรที่เราควบคุมไม่ได้ที่จะส่งผลกับคุณภาพและความเร็วของงานมากมาย คราวนี้ถ้าทำไม่ได้คือฉันจะตกงานเลยนะ ตรงนั้นเป็นจุดที่ทำให้พี่รู้ว่า “Whether we like it or not, we need each other” คือจะชอบหรือไม่ชอบยังไงเราก็ต้องทำงานกับคนอื่นให้เป็น!
งานแรกในชีวิตตอนนั้นทำงานในทีม SAN Storage ซึ่งแน่นอนต้องทำเชื่อมต่อกับทีม Backup and Recovery ทีม Database และผู้คนมากมายทั้งที่เป็นลูกค้า Contractors, Project managers, System Architects, นี่ยังไม่รวม Team leaders, Senior Specialists, People managers, HR managers, และเพื่อนร่วมงานคนอื่นที่มาจากหลายเชื้อชาติ ต่างอายุ ต่างความคิดเห็น ตอนเราเริ่มทำงานในองค์กรใหม่ๆ ใครให้ทำอะไรเราทำหมด ไม่ได้คิดเยอะเพราะอยากเรียนรู้ อยากทำเป็นแล้วเวลาเราก็มีเยอะด้วย พอโตมาอีกหน่อยก็รู้สึกว่าเป็นคนที่แย่ลงเพราะมันเยอะจนทำให้คิดว่าถ้าทำทุกอย่างให้ทุกคนจะเอาเวลาไหนไปทำงานของตัวเอง ในช่วงปีที่ 4–5 ของการทำงานเริ่มสังเกตุตัวเองมากขึ้นว่าทำไมเรายอมทำอะไรให้บางคนแต่กับบางคนเราไม่อยากทำให้ เริ่มเรียนรู้ว่าเราต้อง Give and Take เพื่อให้งานมันเดินไปได้ เริ่มเข้าใจว่าทำไมเราต้องพยายามสร้างและรักษา Relationships ให้เกิดกับเพื่อนร่วมงานของเรา
เวลาผ่านมาเป็นสิบปีตอนนี้พี่อยู่ในจุดที่ได้เข้ามาสร้างทีมและดูแลภาพที่ใหญ่กว่าเดิม มันทำให้เข้าใจเลยว่าสิ่งแวดล้อมแบบไหนทำให้เราอยากทำงานกับคนอื่น สิ่งแวดล้อมไหนทำให้เราไม่อยาก หรือเราต้องสร้าง Culture และออกแบบองค์กรยังไงดีให้คนช่วยกันทำงาน การทำงานกับคนอื่นให้เป็นต่างกันกับการทำงานกับคนอื่นได้อย่างไร การรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานให้เกิด Productivity หรือ Impact ในการทำงานทำอย่างไรได้บ้าง คำถามพวกนี้วนเวียนในปัญหาการทำงานในแต่ละวันของพี่ ที่แน่ๆพี่มารู้ทีหลังว่ามันไม่ได้มีแค่ Give and Take เหมือนที่เคยคิดไว้เพราะเราไม่สามารถไปบอกว่าเพื่อนร่วมงานว่าคราวที่แล้วฉันทำ Report ให้เธอ คราวนี้เธอต้องทำให้ฉันบ้าง —ต้องบอกตัวเองเสมอว่า… It doesn’t work that way, Klangjai! โลกของการทำงานเป็นทีมมันเป็นสังคมที่ซับซ้อนกว่านั้นเยอะ!
ถึงแม้ว่าตัวพี่เองจะไม่ได้เข้าใจ The arts and science ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นไปซะทั้งหมด ที่พี่เข้าใจแน่ๆ คือถ้า Teamwork มันไม่เกิด ความสามารถและเวลาอันจำกัดของคนหนึ่งคนจะพาเราไปได้แค่ระดับหนึ่ง ความจริงที่ต้องยอมรับคือเราจะไม่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวถ้าเราไม่ได้รับความร่วมมือจากคนอื่น การใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในสังคมเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ความคิดเห็นที่แตกต่างและปัญหาในการอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องปรกติ คนไม่ยอมช่วยกันทำงานก็เป็นเรื่องที่ปรกติมาก (พยักหน้ากันหละสิ) พี่เคยทำงานแล้วจมดิ่งอยู่กับความรู้สึกเหมือนตัวเองถูกเอาเปรียบ ทำไมเราต้องทำมากกว่า ทำไมคนนู้นไม่ทำ คนนี้ทำน้อย ความรู้สึกพวกนี้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติและในบางครั้งมันทำให้พี่ทำอะไรหลายๆอย่าง (ที่ทำให้เสียใจภายหลัง😭) กับเพื่อนร่วมงานของตัวเองที่พวกเขาไม่ได้ทำผิดอะไรเลย บางทีพวกเขาอาจจะอยากช่วยเราแต่ไม่รู้จะช่วยยังไง อาจจะทำไม่เป็นหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ทำไม่ได้ สิ่งที่เราควรระลึกไว้เสมอคือไม่ว่าเราจะอยู่ในสังคมที่บ้านหรือที่ทำงาน ความสามารถในการ “ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” เป็นตัวแปรสำคัญกับความอยู่รอดของคนทุกคน ที่เราต้องเข้าใจคือ “คนอื่น” สิ่งที่เราต้องเปลี่ยนไม่ใช่คนอื่นแต่เป็นตัวเราเองหรือสิ่งที่เรา Control ได้ ซึ่ง Control ที่เรามีคือการช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อให้คนในทีมทำงานด้วยกันได้จริง
Teamwork เป็นเรื่องของความรู้สึก
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนทุกคน “รู้สึกปลอดภัยพอและเชื่อกันพอ” ที่จะทุ่มเททำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกันสู่เป้าที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาได้เป็นเรื่องสำคัญมากและคนที่ได้รับ Privilege ให้เป็นผู้นำของทีมมีหน้าที่หลักในการสร้างและดูแลให้ Safe zone นี้เกิดขึ้นจริง การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ Encourage ให้เกิดความสุขในการทำงานผ่านการช่วยเหลือซึ่งกันและกันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เราสามารถใช้ธรรมชาติช่วยส่งเสริมให้เกิดสภาวะที่เราต้องการนี้ได้ วันนี้พี่จะมาเล่าให้ฟังว่าเราสามารถใช้ฮอร์โมนซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้จากธรรมชาติของคนในการสร้าง safe zone ในทีมของเรา

Safe Zone and Hormones
1- Endorphines (Hardwork) เคยเห็นคนออกกำลังกายเป็นประจำแล้วติดใจอยากทำเพิ่มไปเรื่อยๆไหม เวลาคนเราเหนื่อยเหรือเกิด Physical pain ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมน Endorphines ออกมาเพื่อกลบความเหนื่อยยากเหล่านี้และทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและอยากทำมันต่อไป (หน้าพี่ตูน Bodyslam ลอยมา) เจ้า Endorphines เนี่ยเป็นฮอร์โมนสำคัญที่เราใช้ช่วยจัดการกับความเครียด นอกจากจะเกิดจากการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้ Manual labour ต่างๆ Endorphines เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เรารู้สึกดี (Feel good) เวลาเราหัวเราะ สิ่งที่เราเรียนรู้จาก Endorphines คือการทำงานมากไม่ได้ทำให้คนเป็นทุกข์แต่กลับสามารถสร้างความสุขที่ธรรมชาติให้มาได้จากข้างในอย่างยั่งยืน มันแปลว่าเราไม่ต้องกลัวความเหนื่อยเพราะเหนื่อยคือดี เวลาทีมช่วยกันทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ ใช้ Effort ร่วมกันมากๆ มีความทรมาณที่เกิดจากความล้าแปลว่าเรามาถูกทางแล้วเพราะยิ่งทำมาก Endorphines ยิ่งเข้ามาทำให้เรารู้สึกดีมากตามไปด้วย … (ถ้าอยากได้ยินเสียงของ Endorphines ลองไปฟังเพลง I got you ของ James Brown กันดู)
2- Dopamine (Progress) เวลาเราทำอะไรได้แล้วเรารู้สึกว่าเรา Satisfy, Accomplish หรือเราสามารถ Tick off a checklist ได้ว่าเรา Got it! นี่เป็นความรู้สึกที่ได้จากฮอร์โมนที่ชื่อ Dopamine ให้นึกถึงบรรพบุรุษเราเวลาออกไปหาอาหารแล้วมองเห็น Fruit Tree อยู่บนยอดเขา เวลาพวกเขาเดินทางใกล้เข้าไปเรื่อยๆสู่เป้าหมาย ในทุกๆ Milestones ที่พวกเขาเดินผ่าน ร่างกายจะช่วยสร้างความรู้สึกของ Progress นี้ขึ้นมาเป็นกำลังใจให้ไปต่อ “ตอนนี้เราถึงแม่น้ำแล้ว Yay! ถ้าเดินอีกนิดถึง จะถึงทุ่งหญ้าและอีกนิดนึงจะถึงต้นไม้ต้นนั้น” เวลาเราทำงานกันเป็นทีม เราสามารถใช้ฮอร์โมนตัวนี้ให้เป็นประโยชน์อย่างมากกับความรู้สึกของการไปสู่เป้าหมายเดียวกัน “ถ้า” เราช่วยกันตั้งเป้าหมายที่มีภาพชัดเจนว่าเราจะไปไหน ถึงแล้วจะดียังไง ไปทางไหนเรียกว่าใกล้เข้าไปอีกระดับนึงแล้ว การสร้างให้เกิด Milestones ที่เป็น Small wins ให้ทีมจะช่วยให้พวกเราเติบโตระหว่างการเดินทางข้ามหุบเขาแห่งอุปสรรค์ เผชิญกับสิ่งที่ยากลำบาก ทำงานหนักสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปด้วยกันได้อย่างมีความสุขเพราะ “Every day you may make progress. Every step may be fruitful. Yet there will stretch out before you an ever-lengthening, ever-ascending, ever-improving path.”– Winston Churchill
3- Serotonin (Pride) เป็นฮอร์โมนแห่งความภูมิใจที่ได้มาจากการเป็นที่ยอมรับหรือชื่นชมจากผู้อื่นในสังคม คนทุกคนอยากรู้สึกมีคุณค่าต่อใครซักคน มันทำให้เรารู้สึกมั่นใจ ฮึกเหิม เหมือนเวลาเราได้รับคำชมหรือถูกยกย่อง Serotonin เป็นสาเหตุที่คน Showoff เป็นเหตุผลว่าทำไมเรา Check ว่าโพส์ของเรามีคนกด Like หรือ Reactions ใดๆรึเปล่า การเป็นที่ยอมรับในสังคนเป็นสิ่งที่ Matter มากๆ ถ้าเรามองในมุมการทำงานเป็นทีม ซึ่งเราสามารถใช้ความภาคภูมิใจนี้เป็นเป้าในการส่งเสริมให้คนช่วยเหลือกัน สร้างคุณค่าให้กับทีมเพื่อให้ได้รับการยอมรับและรู้สึกภูมิใจที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการทำงานที่คนในทีมเห็นคุณค่าของเรา จากการสร้างสิ่งแวดล้อมให้คนรู้สึกภูมิใจในตัวเองรวมถึงการที่เราทุ่มแทเวลาและความพยายามในการช่วยให้คนอื่นประสบความสำเร็จจนได้รับการยกย่อง เชื่อใจ และเป็นที่ยอมรับจากคนอื่น ถือเป็น Indicator ที่ดีมากๆว่าเรามีคุณสมบัติของคนที่สามารถเป็นผู้นำของทีมได้
4- Oxytocin (Love) เป็นฮอร์โมนที่ได้จากความรู้สึก รัก ผูกพันธ์ เชื่อใจในคนที่อยู่ด้วยกันมานานๆ เป็นฮอร์โมนที่คนใจดีมีเยอะเพราะพวกเขาใช้เวลาส่วนมากในการช่วยเหลือคนอื่น Paying it forward โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนเพราะ “It feels good to help people” Oxytocin เป็นคำตอบว่าทำไมเวลาเรากอดคนที่เรารักและเชื่อใจแล้วทำให้เรารู้สึกอบอุ่นมีพลังและยอมที่จะร้องไห้และแสดงออกถึงความอ่อนแอของเราต่อหน้าพวกเขา ในสังคมการทำงาน Oxytocin เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรารู้สึกเชื่อใจ, ปลอดภัย, สมหวัง, ไว้ใจ, และไม่โกง ซึ่งโดยรวมแล้วความรู้สึกเหล่านี้ทำให้เราอยากเป็นคนที่ดีขึ้น การสร้างให้เกิดพื้นที่ให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดได้ การช่วยกันแก้ปัญหา ร่วมมือกันโดยไม่หวังผลตอบแทนและคอยอยู่เคียงข้างกันในเวลาที่เกิดความทุกข์ ทั้งหมดนี้สามารถถูกสร้างและหล่อเลี้ยงได้ด้วย Oxytocin การทำงานในสังคมการศึกษามีข้อดีมากๆอยู่อย่างนึงคือ คนที่ชอบเรื่องการศึกษาเป็นคนที่มีความสุขผ่านการให้อยู่แล้ว ความรู้สึกที่อยากให้ผู้เรียนเข้าใจ อยากให้เขาทำได้ทำเป็น อยากให้เขาประสบความสำเร็จ การทำงานในสังคมที่คนคิดแบบนี้ทำให้เรามีความสุขในการเป็นผู้ให้ มันยิ่งใหญ่และสวยงามเหมือนที่ Booker T. Washington กล่าวไว้ว่า “If you want to lift yourself up, lift up someone else.”
Hardwork, Progress, Pride and Love เป็นสิ่งที่สามารถช่วยเราสร้างและปกป้องให้เกิด Safe Zone ในการทำงานร่วมกันอย่างมีความหมายและมีความสุขอย่างยั่งยืนได้ การที่เราช่วยกันวางเป้าหมายที่ชัดเจนใน Backlogs ทำงานเป็น Sprints เพื่อให้เห็น Progress สู่ Milestones, การยกย่อง ขอบคุณ ชื่นชมกันและกัน (ผ่าน Lattice #Praise) เมื่อมีคนที่เสียสละเพื่อลูกค้าและทีม, การ Encourage ให้คนได้ทดลอง ได้ทำผิดพลาดและเรียนรู้ได้ (Fail better), การให้ใจ ใส่ใจ เชื่อใจ ให้กำลังใจในวันที่เราล้ม สิ่งพวกนี้ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญของ ทีม Culture ที่เราต้องสร้างและคอยดูแลให้เกิดใน Safe Zone ของเราอย่างสม่ำเสมอ อย่าลืมว่าในการทำงานเป็นทีม “Coming together is a beginning. Keeping together is progress. Working together is success.” — Henry Ford
References:
Sinek, Simon. Leaders Eat Last: Why Some Teams Pull Together and Others Don’t. Portfolio/Penguin, 2014.
Comments